การเดินทางของประเทศไทยในการเร่งสร้างนวัตกรรมผ่านกลไก Regulatory Sandbox

ในบทความนี้ อานนท์ ตานะเศรษฐ ผู้เชี่ยวชาญนโยบาย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เล่าถึงเส้นทางการเดินทางและประสบการณ์ของประเทศไทยเกี่ยวกับการใช้กลไก Regulatory Sandbox เพื่อผลักดันให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนและการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ประเทศในยุคดิจิทัล

โดย อานนท์ ตานะเศรษฐ ผู้เชี่ยวชาญนโยบาย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

 

ภาพรวม Regulatory Sandbox ในประเทศไทย

 

ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ของภูมิภาคอาเซียนที่นำเอาแนวคิดและกลไก Sandbox มาใช้เป็นเครื่องมือทางกฎหมาย โดยเพียงหลังจากการเปิดตัว Regulatory Sandbox ของ Financial Conduct Authority (FCA) ในสหราชอาณาจักรประมาณ 1 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดทำแนวปฏิบัติ เรื่อง แนวทางการเข้าร่วมทดสอบและพัฒนานวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน หรือ FinTech Sandbox ในเดือนธันวาคม 2559 ซึ่งนับเป็นการใช้กลไก Regulatory Sandbox อย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่ง Sandbox นี้เปิดโอกาสให้มีการทดลองเทคโนโลยีด้านการเงินใหม่ ๆ หลายตัว เช่น การชำระเงินผ่าน QR code การยืนยันตัวบุคคลด้วยลักษณะทางกายภาพ (Biometric) เทคโนโลยีบล็อกเชน และอื่น ๆ ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงคือ การชำระเงินผ่าน QR code โดย ธปท. ได้ร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ในประเทศไทย 8 แห่ง พัฒนา “มาตรฐาน Thai QR Code” ซึ่งกลายมาเป็นมาตรฐานกลางที่ถูกนำไปใช้โดยธนาคารไทยทั่วประเทศ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญ ดังจะเห็นได้จากตัวเลขจากสมาคมฟินเทคประเทศไทยที่ระบุว่าจำนวนการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลในประเทศไทยนั้นเพิ่มขึ้นถึงห้าเท่า ในช่วงปี 2560 ถึง 2564 โดยมีการใช้งานเฉลี่ย 312 ครั้งต่อคนต่อปี และมีจุดชำระเงินผ่านระบบ QR code กว่า 7 ล้านจุดทั่วประเทศ

 

ความสำเร็จของ ธปท. ได้นำไปสู่การจัดตั้ง Regulatory Sandbox อื่น ๆ ในประเทศไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ต่างจัดตั้ง Sandbox ของตนขึ้นในช่วงกลางปี 2560 โดยเป็น Sandbox ด้านการลงทุน (Securities Trading Center) และ Sandbox ด้านการประกันภัย (Insurance) ซึ่ง Sandbox กลุ่มนี้ถือเป็น Sandbox แห่งแรก ๆ ในประเทศไทยและมีลักษณะสำคัญคล้ายคลึงกันตรงที่จำกัดกลุ่มอุตสาหกรรมหรือเซคเตอร์เฉพาะ และเป็น Sandbox เกี่ยวกับการเงินการลงทุน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีผลกระทบสูง นอกจากนี้ Sandbox เหล่านี้ยังถือเป็น Adaptive Sandbox ซึ่งหมายความว่าหน่วยงานกำกับดูแลอาจใช้ผลการทดสอบเทคโนโลยีภายใต้ Sandbox เพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต

 

ในปีต่อ ๆ มา หน่วยงานกำกับดูแลจำนวนมากได้แสดงความสนใจในการตั้ง Sandbox ของตนเอง โดยเน้นไปที่การทดสอบกลุ่มเทคโนโลยีที่สำคัญเป็นหลัก เช่น Sandbox เพื่อทดสอบการใช้เทคโนโลยีสัญญาณ 5G ในพื้นที่ทดลองโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) Sandbox สำหรับการทดสอบอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน โดยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Sandbox ด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น FoodTech Sandbox และ HealthTech Sandbox เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความจำเพาะและมีการใช้นวัตกรรมสูง เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ โปรตีนทางเลือก หรือการแพทย์ทางไกล ในส่วนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีการจัดตั้ง Innovation Sandbox ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่เป็น Sandbox กลางสำหรับทดสอบเทคโนโลยีหรือรูปแบบธุรกิจที่ไม่จำกัดกลุ่มอุตสาหกรรมหรืออาจตกอยู่ภายใต้อุตสาหกรรมหลายประเภท (multi-sector) และได้ทำการพิจารณาโครงการนำร่องภายใต้ Sandbox นี้หลายโครงการ เช่น ยานยนต์ไร้คนขับหรือหุ่นยนต์ส่งของอัตโนมัติ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ถนน การใช้งานคลื่นความถี่ การคุ้มครองผู้บริโภค การประกันภัย และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าของโครงการนำร่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานกำกับดูแลหลายแห่งลักษณะนี้ยังคงต้องอาศัยการทำงานต่อเนื่องอีกระยะหนึ่งจากความท้าทายด้านต่าง ๆ เช่น ความพร้อมของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในเชิงระบบการทำงาน ความพร้อมและความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่และบุคลากร รวมไปถึงการออกแบบรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เหมาะสม ซึ่งต่างเป็นปัจจัยซึ่งส่งผลกระทบต่อความพยายามในการจัดตั้ง Sandbox กลาง

 

ประสบการณ์ที่ได้รับจากการดำเนินงานที่ผ่านมาของ Regulatory Sandbox ในประเทศไทยทำให้เกิดข้อค้นพบและคำแนะนำหลายประการ ดังนี้

 

การเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงานกำกับดูแลในการจัดตั้ง Sandbox

หน่วยงานกำกับดูแลแต่ละแห่งควรศึกษาความเป็นไปได้และความสำคัญของการจัดตั้ง Sandbox ของตนเอง โดยคำนึงถึงความพร้อมและความต้องการของตลาด โดยปัจจุบัน หน่วยงานบางแห่งอาจยังขาดความมั่นใจในอำนาจทางกฎหมายของตน หรืออาจไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดตั้ง Sandbox ในกรณีเช่นนี้ คำสั่งเชิงนโยบายของรัฐบาล เช่น คำสั่งนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี อาจจำเป็นเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานกำกับดูแลจัดตั้ง Sandbox ได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานกำกับดูแลบางแห่งไม่จำเป็นต้องมี Sandbox เป็นของตัวเอง เนื่องจากการดำเนินงาน Sandbox เองนั้นก็เป็นกลไกที่ต้องอาศัยเวลาและทรัพยากรกำลังคนจำนวนมาก ซึ่งบางครั้งเทคโนโลยีที่ต้องการทดสอบนั้นอาจจะมีการศึกษาผลกระทบและแนวทางกำกับดูแลมาแล้วในรายละเอียดในต่างประเทศ และอาจนำมาปรับใช้ในประเทศไทยได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้กลไก Sandbox นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลที่สนใจจัดตั้ง Sandbox นั้นควรจัดให้มีกลไกเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีจากหน่วยงานที่มีประสบการณ์ เพื่อช่วยสร้างทักษะและความเชี่ยวชาญให้แก่พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำหรับการจัดตั้งและดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ

 

การสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

เนื่องจากการทดสอบภายใต้ Sandbox นั้นมักจะมีการจำกัดจำนวน ผู้เข้าร่วมอาจมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันบางประการเหนือกว่าผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วม ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจจะสามารถนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น ดังนั้น เกณฑ์และกระบวนการคัดเลือกผู้เข้าร่วม Sandbox จะต้องยุติธรรมและโปร่งใส โดย Sandbox ควรเปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทุกรายสามารถมีส่วนร่วมได้โดยไม่จัดกัดเกณฑ์เรื่องขนาดหรือเงินทุนบริษัทมากเกินไป นอกจากนี้ อาจพิจารณาสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) รวมถึงสตาร์ทอัพ ให้สามารถเข้าร่วม Sandbox ได้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้

 

ในขณะเดียวกัน บางครั้งการเข้าร่วม Sandbox อาจนำไปสู่การตรวจสอบบริษัทที่เข้าร่วมมากกว่าบริษัททั่ว ๆ ไป ซึ่งความไม่สมดุลนี้อาจส่งผลให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างกัน ดังนั้น หน่วยงานกำกับดูแลควรระมัดระวังหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติระหว่างผู้เข้าร่วม Sandbox และผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วม

 

การสื่อสารเป้าหมายและความคาดหวังของโครงการ Sandbox ที่ชัดเจน

การสื่อสารที่ชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายและความคาดหวังของการจัดตั้งและเข้าร่วมโครงการ Sandbox แต่ละโครงการถือหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งของหน่วยงานกำกับดูแลต่อผู้เข้าร่วม Sandbox เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และลดโอกาสที่ผู้เข้าร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลจะเข้าใจไม่ตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของขอบเขต ระยะเวลา และผลลัพธ์ที่คาดหวัง หน่วยงานกำกับดูแลควรสื่อสารเน้นย้ำให้ชัดเจนแก่ผู้เข้าร่วมว่า Sandbox ไม่ได้เป็นทางลัดหรือวิธีการในการเร่งอนุมัติหรือลดระยะเวลาในการขออนุญาตหรือกระบวนการที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีประเด็นเกี่ยวกับมาตรฐานอุตสาหกรรมหรือมาตรฐานนานาชาติ แต่ Sandbox นั้นเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับทดสอบและศึกษาผลกระทบและวิธีการกำกับดูแลเทคโนโลยีหรือโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ที่กฎหมายหรือมาตรฐานปัจจุบันยังไม่รองรับ นอกจากนี้ ควรสื่อสารกับผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ Sandbox ให้ทราบถึงค่าใช้จ่ายและภาระต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในกระบวนการ Sandbox ให้ทราบก่อนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ

 

สรุปแล้ว นับได้ว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งในการนำกลไก Sandbox มาใช้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม หน่วยงานด้านนโยบายและหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องยังคงเผชิญกับความท้าทายหลายประการ และจำเป็นต้องพัฒนาแนวทางการใช้ Sandbox เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นทั้งในแง่การประยุกต์ใช้กลไก Sandbox ในอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม รวมถึงการรักษากระบวนการที่เปิดกว้างและมีประสิทธิภาพ กลไก Sandbox มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ประเทศปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขัน และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศในยุคดิจิทัลนี้

 

ข้อคิดเห็นและคำแนะนำที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของ Tech for Good Institute

 

เกี่ยวกับผู้เชียน:

อานนท์ ตานะเศรษฐ เป็นผู้เชี่ยวชาญนโยบายของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยมีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมและกฎหมาย กฎ ระเบียบเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี เช่น กฎหมายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม หรือ TRIUP Act นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์ในการพัฒนานโยบายส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพและระบบนิเวศด้านความเป็นผู้ประกอบการในประเทศไทยอีกด้วย

Download Report

Download Report

Latest Updates

Latest Updates​

Tag(s):

Keep pace with the digital pulse of Southeast Asia!

Never miss an update or event!

Mouna Aouri

Programme Fellow

Mouna Aouri is an Institute Fellow at the Tech For Good Institute. As a social entrepreneur, impact investor, and engineer, her experience spans over two decades in the MENA region, South East Asia, and Japan. She is founder of Woomentum, a Singapore-based platform dedicated to supporting women entrepreneurs in APAC through skill development and access to growth capital through strategic collaborations with corporate entities, investors and government partners.

Dr Ming Tan

Founding Executive Director

Dr Ming Tan is founding Executive Director for the Tech for Good Institute, a non-profit founded to catalyse research and collaboration on social, economic and policy trends accelerated by the digital economy in Southeast Asia. She is concurrently a Senior Fellow at the Centre for Governance and Sustainability at the National University of Singapore and Advisor to the Founder of the COMO Group, a Singaporean portfolio of lifestyle companies operating in 15 countries worldwide.  Her research interests lie at the intersection of technology, business and society, including sustainability and innovation.

 

Ming was previously Managing Director of IPOS International, part of the Intellectual Property Office of Singapore, which supports Singapore’s future growth as a global innovation hub for intellectual property creation, commercialisation and management. Prior to joining the public sector, she was Head of Stewardship of the COMO Group and the founding Executive Director of COMO Foundation, a grantmaker focused on gender equity that has served over 47 million women and girls since 2003.

 

As a company director, she lends brand and strategic guidance to several companies within the COMO Group. Ming also serves as a Council Member of the Council for Board Diversity, on the boards of COMO Foundation and Singapore Network Information Centre (SGNIC), and on the Digital and Technology Advisory Panel for Esplanade–Theatres on the Bay, Singapore’s national performing arts centre.

 

In the non-profit, educational and government spheres, Ming is a director of COMO Foundation and Singapore Network Information Centre (SGNIC) and chairs the Asia Advisory board for Swiss hospitality business and management school EHL. She also serves on  the Council for Board Diversity and the Digital and Technology Advisory Panel for Esplanade–Theatres on the Bay, Singapore’s national performing arts centre.

 

Ming was educated in Singapore, the United States, and England. She obtained her bachelor’s and master’s degrees from Stanford University and her doctorate from Oxford.