การเดนิหนา้กฎหมายปัญญาประดษฐิ ของ ์ ไทย: การพัฒนาทอยีบนู่ ทางสองแพรง

ในบทความน ี เขมภทั ร ทฤษฎคิ ณุ และวชิ ญาดา อำ พนกจิววิฒั น์นักวจิัยจากสถาบนั วจิัยเพอ ื การพัฒนา ประเทศไทย (TDRI) ไดส้ ำ รวจฉากทศั นข์ องนโยบายปัญญาประดษิ ฐห์ รอื AI ทก ี ำ ลงัพัฒนาในประเทศไทย ผา่ นการวเิคราะหก์ รอบกฎหมายทเ ี กย ี วขอ้ ง และประเด็นสำ คญั ทม ี อี ทิ ธพิ ลตอ่ แนวทางการกำ กบั ดแู ลปัญญา ประดษิ ฐข์ องประเทศ ในบทความนจ ี ะนำ เสนอขอ้มลู เชงิลกึ เกย ี วกบั อนาคตของการพัฒนาปัญญาประดษิ ฐใ์ น ประเทศไทย


ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ได้มีความสําคัญมากขึ้น โดยรัฐบาลในประเทศต่างๆ ได้เล็งเห็นประโยชน์ ของปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงประเทศไทยที่มีความพยายามพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่รองรับกับความ เปลี่ยนแปลง และส่งเสริมธุรกิจ SMEs และ Start-up ของไทย รวมถึงเล็งเห็นผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจาก การใช้ปัญญาประดิษฐ์ อย่างไรก็ดี ปัญหาสําคัญของประเทศไทยในเวลานี้คือ การพัฒนาที่อยู่บนทางสอง แพร่งของทิศทางการกํากับปัญญาประดิษฐ์ว่าจะไปในทิศทางใด


นโยบายการพัฒนาปัญญาประดิษฐท์ี่ยังคลุมเครือ

ที่ผ่านมานโยบายปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทยยังมีลักษณะคลุมเครือ ซึ่งคล้ายคลึงกันกับนโยบายด้าน ดิจิทัลอื่นๆ ของประเทศ อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดกระแสบางอย่างขึ้นมาประเทศไทยก็เริ่มมีความเคลื่อนไหวเกิด ขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อสหภาพยุโรปเริ่มเคลื่อนไหวในการกํากับปัญญาประดิษฐ์ แนวคิดดังกล่าวได้รับการ ถ่ายทอดมาสู่ประเทศไทยเช่นเดียวกันกับกฎหมายด้านดิจิทัลอื่นๆ

แรงกระเพื่อมดังกล่าวได้ทําให้ประเทศไทยรับเอาแนวคิดการกํากับปัญญาประดิษฐ์เข้ามาผ่านการศึกษาและ จัดทําร่างพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการที่ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์  พ.ศ.   ขึ้นในช่วงเดือน

เมษายน 2565 โดยสํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ร่างกฎหมายฉบับนี้มีเป้าหมายเพื่อกําหนดมาตรการกํากับธุรกิจที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ โดยมุ่งเสริมสร้างความ น่าเชื่อถือและป้องกันความเสียหายต่อสาธารณะ โดยกําหนดให้ปัญญาประดิษฐ์ที่มีความเสี่ยงสูงจะต้องอยู่ ภายใต้การกํากับ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้ในโครงสร้างพื้นฐาน (critical infrastructure) หรือปัญญา ประดิษฐ์ที่ใช้ในการเฝ้าระวังหรือจดจําใบหน้าในการใช้งานปัญญาประดิษฐ์กลุ่มนี้จะต้องขึ้นทะเบียนกับหน่วย งานของรัฐ และปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายกําหนดไว้ อาทิ มาตรการควบคุมความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับ มนุษย์

นอกจากนี้ กฎหมายฉบับนี้ยังให้อํานาจกับหน่วยงานของรัฐ ในการกําหนดประเภทของปัญญาประดิษฐ์ที่ห้าม ใช้งาน และบทลงโทษสําหรับผู้ใช้งานที่ฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้

อย่างไรก็ดี ต่อมานโยบายปัญญาประดิษฐ์ของไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ในเดือนกรกฎาคม 2565 เมื่อ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย  (2565  –

2570) หรือแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ โดยแผนดังกล่าวได้สะท้อนความตระหนักถึงความสําคัญและ เป้าหมายในการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ โดยกําหนดยุทธศาสตร์ไว้ 5 ประการ ได้แก่

  • ยุทธศาสตร์ที่1ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบเพื่อรองรับการใช้งานปัญญาประดิษฐ์อย่าง เหมาะสม พร้อมป้องกันการนําปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ในทางที่ผิด
  • ยุทธศาสตร์ที่2พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการ เติบโตของเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านปัญญาประดิษฐ์ให้เพียงพอต่อความ ต้องการ และเพิ่มความเชี่ยวชาญในการใช้งานปัญญาประดิษฐ์
  • ยุทธศาสตร์ที่4สนับสนุนการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในภาคสาธารณสุข พลังงาน การศึกษา การ ท่องเที่ยว เพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
  • ยุทธศาสตร์ที่5ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน พร้อมพัฒนา Sand Box และ ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมไทย

ดังจะเห็นได้ว่าในยุทธศาสตร์ที่1นั้นได้มีการผลักดันให้มีการยกร่างกฎหมายการส่งเสริมและสนับสนุนนวัต กรรมปัญญาประดิษฐ์ในเวลาต่อมาโดยร่างกฎหมายฉบับนี้มีเป้าหมายในการสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมและ ลดมาตรการที่เป็นข้อจํากัดหรืออุปสรรคต่อการส่งเสริมการใช้ปัญญาประดิษฐ์สร้างความร่วมมือในการ ศึกษาระหว่างรัฐกับเอกชน

นโยบายดังกล่าวเป็นไปตามมติของคณะกรรมการปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 ที่ระบุว่า “รัฐควรจะต้อง สนับสนุนให้เกิดการสร้างปัญญาประดิษฐ์ และพัฒนาระบบนิเวศที่รองรับปัญญาประดิษฐ์อย่างครบถ้วน เท่าทัน มีความเป็นรูปธรรม ยั่งยืน และการพัฒนากฎหมายต้องทําอย่างเหมาะสมและรอบคอบ ไม่กีดขวาง การพัฒนา และเอื้อต่อการส่งเสริมระบบนิเวศปัญญาประดิษฐ์”

ภายใต้ร่างกฎหมายนี้ได้กําหนดกลไกที่มุ่งรักษาสมดุลระหว่างการส่งเสริมประโยชน์จาก AI และการกํากับ ดูแลความเสี่ยง โดยกําหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ ทําหน้าที่ออกนโยบาย มาตรฐาน และสนับสนุนผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ผ่านการจดทะเบียน ให้คําปรึกษา และทดสอบปัญญา ประดิษฐ์ภายใต้ศูนย์ทดสอบ (Sandbox) เพื่อให้สามารถพัฒนาและทดลองปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างปลอดภัย รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลปัญญาประดิษฐ์ระหว่างภาครัฐและเอกชน ภายใต้มาตรการรักษา ความปลอดภัยและเป็นธรรม

นอกจากนี้          ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังได้วางกรอบสัญญามาตรฐานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและกําหนดความ รับผิดชอบของผู้ให้บริการ พร้อมจัดตั้งกองทุนเยียวยาความเสียหายจากปัญญาประดิษฐ์ ในกรณีที่ไม่สามารถ หาผู้รับผิดชอบได้ และกําหนดมาตรการคุ้มครองข้อมูลลับของผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI Provider) ที่ส่ง ให้ภาครัฐ

ลักษณะของกลไกที่กําหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้จึงมีแนวทางกํากับปัญญาประดิษฐ์ที่ยืดหยุ่นกว่ากฎหมาย ปัญญาประดิษฐ์ของสหภาพยุโรปและร่างพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการที่ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ .. ….


ทางแยกของกฎหมายปัญญาประดิษฐไ์ทยในการพัฒนานโยบาย

ความท้าทายสําคัญของประเทศไทยในเวลานี้ก็คือ เราจะเดินหน้าต่อไปกันอย่างไรในประเด็นด้านกฎหมาย เพราะในขณะนี้ประเทศไทยกําลังมีกฎหมายอยู่ 2 ฉบับ ที่พูดเรื่องการกํากับปัญญาประดิษฐ์ในคนละลักษณะ ความแตกต่างระหว่างกฎหมายสองฉบับนี้สะท้อนถึงทางเลือกเชิงนโยบายที่สําคัญของประเทศไทย เพราะ ในด้านหนึ่ง กฎหมายฉบับแรกมุ่งควบคุมการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างเข้มงวด แต่ในอีกด้านหนึ่งกฎหมายอีก ฉบับก็มุ่งส่งเสริมการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์

ในขณะเดียวกันทางเลือกของการพัฒนานี้ก็ส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่แตกต่างกัน กล่าว คือ หากประเทศไทยมุ่งมั่นจะเดินตามแนวทางของสหภาพยุโรป โดยประกาศใช้กฎหมายปัญญาประดิษฐ์ที่ เข้มงวดในเรื่องจริยธรรมความโปร่งใสและป้องกันอคติแม้ว่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นเรื่องสําคัญ แต่กรอบ กฎหมายที่เข้มงวดเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของประเทศ และทําให้ไทยต้องพึ่ง พาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จากต่างประเทศ

ทั้งนี้ ข้อจํากัดนี้อาจลดโอกาสในการสร้างนวัตกรรมของภาคธุรกิจในประเทศ รวมถึงมาตรการดังกล่าวอาจจะ ยิ่งสร้างปัญหา เมื่อกฎระเบียบด้านดิจิทัลมีแนวโน้มขยายตัวและทับซ้อนกันมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดข้อกังวล เกี่ยวกับผลกระทบระยะยาวต่อการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของไทย

ในทางตรงข้ามหากประเทศไทยเลือกที่จะใช้กฎหมายที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ โดย เฉพาะผ่าน กลไกการกํากับแบบสมัครใจ อาทิ AI Sandboxes ซึ่งเปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถทดลองและ พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ยืดหยุ่นกว่า โดยยังคงปฏิบัติตามกฎหมายอื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แม้ว่าแนวทางนี้ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดกฎหมายที่เข้มงวดเกินไป จนกลาย เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์

อย่างไรก็ดี    แนวทางนี้ก็มีความท้าทายเช่นกัน   กล่าวคือ                 ประเทศไทยต้องมั่นใจว่ากรอบกฎหมายปัจจุบัน สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงประเด็นสําคัญที่ต้อง คํานึงถึงอาทิความโปร่งใสการป้องกันอคติและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากการเก็บรวบรวมและการนํา ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งหากการกํากับดูแลบกพร่อง ก็อาจจะนํามาสู่ผลกระทบทางสังคม

คําถามสําคัญในเวลานี้ก็คือ เราจะสร้างสมดุลในการพัฒนากฎหมายปัญญาประดิษฐ์ของไทยได้อย่างไร ให้ สามารถพัฒนานวัตกรรมควบคู่ไปกับการปรับลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น


อนาคตของการพัฒนากฎหมาย AI ในประเทศไทย

นโยบายปัญญาประดิษฐ์ของไทยอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสําคัญอย่างไรก็ดีเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาของประเทศ ไทยเพียงประเทศเดียวแต่เป็นปัญหาร่วมกันของทั้งโลกโดยเฉพาะหลังจากการประชุมสุดยอดผู้นํา      AI Action ณ กรุงปารีส เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ข้อถกเถียงเกี่ยวกับทิศทางในอนาคตของปัญญาประดิษฐ์ได้กลายเป็นประเด็นสําคัญ ดังจะเห็นได้จากการ แสดงวิสัยทัศน์ตอบโต้กันระหว่างรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกากับประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ดังนี้ ทางเลือกของกฎหมายปัญญาประดิษฐ์ไทย จึงไม่ได้จํากัดอยู่เพียงแค่การเติบโตทางอุตสาหกรรม แต่ยังต้อง คํานึงถึงกลยุทธ์ในการเข้าสู่ตลาด และปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กําลังกําหนดทิศทางของปัญญาประดิษฐ์ใน เวทีโลกด้วย

ท้ายที่สุดแล้ว ประเทศไทยอาจจะต้องมองหาทางเลือกที่สาม คือ การมีกรอบทางกฎหมายที่รักษาสมดุล ระหว่างการส่งเสริมนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์กับการกํากับดูแลของภาครัฐโดยแนวทางนี้จะช่วยให้การพัฒนา ปัญญาประดิษฐ์สามารถดําเนินไปได้อย่างก้าวหน้า โดยยังคงอยู่ภายใต้การกํากับที่เหมาะสม รวมถึงอาจมี การกําหนดหลักจริยธรรมในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ซึ่งแม้จะไม่มีผลบังคับทางกฎหมายโดยตรง แต่ สามารถเป็นแนวปฏิบัติที่ดีสําหรับภาคอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ กฎหมายอาจจะต้องมีมาตรการจํากัดการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิด อันตรายต่อความปลอดภัยและชีวิตของมนุษย์พร้อมทั้งกําหนดแนวทางจัดการความเสี่ยงและข้อกําหนด เฉพาะในแต่ละอุตสาหกรรมเพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์ถูกนําไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับบริบท ของสังคมไทย

แนวทางนี้อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสําหรับประเทศไทยในการสร้างระบบนิเวศปัญญาประดิษฐ์ที่มี โครงสร้างชัดเจน  ซึ่งเอื้อให้เทคโนโลยีสามารถพัฒนาได้อย่างก้าวหน้า ควบคู่ไปกับการรักษาความ รับผิดชอบและความโปร่งใส ในการกํากับและป้องกันผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ต่อสังคม

อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้ยังจําเป็นต้องได้รับการศึกษาและพิจารณาอย่างรอบคอบอีกครั้ง เพื่อปรับปรุงแนวทาง การกํากับปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทยให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนา เทคโนโลยีของโลก ขณะเดียวกันก็สามารถรักษาสมดุลระหว่างนวัตกรรมและความปลอดภัยของสังคม

ขอ้คิดเห็นทีป่รากฏในบทความนีเ้ป็นของผูเ้ขียน ซึง่ไมจ่าํเป็นตอ้งสอดคลอ้งกบัความเห็นของ  Tech for Good Institute


เกยี่ วกบั ผเู้ ขยี น

เขมภัทร ทฤษฎิคุณ นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ปัจจุบันดําเนินการวิจัย เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการเปลี่ยนแปลงทาง ดิจิทัลในภาครัฐ

วิชญาดา อําพนกิจวิวัฒน์ เป็นนักวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มีความสนใจด้าน กฎหมายดิจิทัล กฎหมายคอมพิวเตอร์ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการวิจัยนโยบายเกี่ยวกับกฎหมาย และประเด็นทางสังคม

เกยี่ วกบั หนว่ ยงาน

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI)ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นสถาบันวิจัยนโยบายสาธารณะในปี 2527 มีสถานะเป็นมูลนิธิเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกําไร โดยมีเป้าหมายเพื่อนําเสนอความเชี่ยวชาญทางเทคนิคใน การวิเคราะห์และนําเสนอนโยบาย (โดยเฉพาะนโยบายทางเศรษฐกิจ) ต่อรัฐบาล และหน่วยงานของรัฐใน การดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและนโยบายทางสังคมของประเทศไทย

Tag(s):

Keep pace with the digital pulse of Southeast Asia!

Never miss an update or event!

Mouna Aouri

Programme Fellow

Mouna Aouri is an Institute Fellow at the Tech For Good Institute. As a social entrepreneur, impact investor, and engineer, her experience spans over two decades in the MENA region, South East Asia, and Japan. She is founder of Woomentum, a Singapore-based platform dedicated to supporting women entrepreneurs in APAC through skill development and access to growth capital through strategic collaborations with corporate entities, investors and government partners.

Dr Ming Tan

Founding Executive Director

Dr Ming Tan is founding Executive Director for the Tech for Good Institute, a non-profit founded to catalyse research and collaboration on social, economic and policy trends accelerated by the digital economy in Southeast Asia. She is concurrently a Senior Fellow at the Centre for Governance and Sustainability at the National University of Singapore and Advisor to the Founder of the COMO Group, a Singaporean portfolio of lifestyle companies operating in 15 countries worldwide.  Her research interests lie at the intersection of technology, business and society, including sustainability and innovation.

 

Ming was previously Managing Director of IPOS International, part of the Intellectual Property Office of Singapore, which supports Singapore’s future growth as a global innovation hub for intellectual property creation, commercialisation and management. Prior to joining the public sector, she was Head of Stewardship of the COMO Group and the founding Executive Director of COMO Foundation, a grantmaker focused on gender equity that has served over 47 million women and girls since 2003.

 

As a company director, she lends brand and strategic guidance to several companies within the COMO Group. Ming also serves as a Council Member of the Council for Board Diversity, on the boards of COMO Foundation and Singapore Network Information Centre (SGNIC), and on the Digital and Technology Advisory Panel for Esplanade–Theatres on the Bay, Singapore’s national performing arts centre.

 

In the non-profit, educational and government spheres, Ming is a director of COMO Foundation and Singapore Network Information Centre (SGNIC) and chairs the Asia Advisory board for Swiss hospitality business and management school EHL. She also serves on  the Council for Board Diversity and the Digital and Technology Advisory Panel for Esplanade–Theatres on the Bay, Singapore’s national performing arts centre.

 

Ming was educated in Singapore, the United States, and England. She obtained her bachelor’s and master’s degrees from Stanford University and her doctorate from Oxford.